วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เตือนภัยในน้ำยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บมีสารเคมีอันตราย






   เล็บสวย วิบวับ เป็นอีกแฟชั่นที่กำลังมาแรงในยุคนี้ แต่รู้หรือไม่ภายใต้ความสวยงามนั้นนำมาซึ่งอันตรายต่อสุขภาพที่อาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว เนื่องจากในน้ำยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บ ประกอบไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหลายอย่างเลยทีเดียว
   สารไทลูอิน เป็นสารอันตรายที่สามารถเข้าสู่ร่างกายโดยการดูดซึมผ่านทางผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ ซึ่งผู้ที่สูดดมเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดอาการมึนงง เวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย คลื่นเหียน ถ้ารับไปในปริมาณมากมากทำให้ระบบประสาทและสมองถูกทำลายได้ อาจทำให้สูญเสียความทรงจำได้
ไดบิวทิล พทาเลต เป็นสารที่มีที่มีผลรบกวนต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศสามารถทำให้เกิดการเป็นหมันได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง หากได้รับสารเป็นเวลานานหรือมีความเข้มข้นสูงจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และหากได้รับต่อเนื่องในระยะยาวจะทำให้ตับและไตทำงานผิดปกติได้




ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารตัวเดียวกับฟอร์มาลีน หรือน้ำยาดองศพ เพียงแต่ฟอร์มาลดีไฮด์จะอยู่ในรูปของก๊าซหรือไอละเหย แต่ฟอร์มาลีนจะอยู่ในรูปของสารละลาย ไอของสารฟอร์มาลดีไฮด์จะส่งผลกระทบให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ระคายเคืองตา และระคายเคืองผิวหนัง อาจทำให้เกิดภูมิแพ้และหอบหืดได้ ถ้าสูดดมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งโพรงจมูก มะเร็งคอหอยส่วนจมูกได้
อะซิโตน และเอทิลอะซิเตต สารสองตัวนี้จะเป็นส่วนผสมของน้ำยาล้างเล็บ ซึ่งเป็นสารที่มีความไวไฟสูง มีกลิ่น และระเหยได้ง่ายการสูดดมไอระเหยของสารทั้งสองตัวนี้เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ ง่วงซึม ระคายเคืองทางเดินหายใจ มึนงง และอาจถึงขั้นหมดสติได้ และถ้าสัมผัสถูกผิวหนังเป็นระยะเวลานานจะทำให้ผิวหนังสูญเสียไขมัน ทำให้ผิวหนังแห้ง และเป็นโรคผิวหนังอักเสบได้ ดังนั้นการล้างเล็บบ่อยๆ ก็จะทำให้เล็บไม่แข็งแรงและบางลงเรื่อยๆ
นอกจากจะสวยด้วยการแต่งเติมแล้วอย่าลืมดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพใจ ให้ดีด้วยอย่างที่เค้าเรียกว่าสวยจากภายใน


* สัญญาณเบื้องต้นที่บ่งบอกความเป็นอันตรายของยาทาเล็บคือกลิ่นเหม็นรุนแรงที่โชยออกมาเมื่อเปิดฝา อันเกิดจากการผสมกันของแอลกอฮอล์ โซลเวนต์หรือสารอินทรีย์ระเหยที่ใช้เป็นตัวทำละลายซึ่งช่วยให้ยาทาเล็บแห้งเร็ว และเรซิ่นที่ทำให้สีของยาทาเล็บติดทนทาน ไม่ลอกล่อนโดยง่าย


* มีสารพิษ 3 ชนิดปะปนอยู่ในยาทาเล็บทั่วไป คือ ไดบิวทิล พทาเลต สารประกอบไทลูอิน และฟอร์มาลดีไฮด์


* ไดบิวทิล พทาเลต เป็นปัจจัยเพิ่มอัตราการเป็นหมันในหญิงและชาย ในระยะยาวจะส่งผลต่อไตและตับ


* ไทลูอิน ไม่เพียงรบกวนการเจริญเติบโตและระบบสืบพันธุ์ แต่ยังสร้างความระคายเคืองผิวหนังและส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เหนื่อย สับสน และสูญเสียความทรงจำ หากสูดดมมากๆ จะมีอาการหน้ามืด ตาลาย ปวดศีรษะ 


* ฟอร์มาลดีไฮด์ หากสัมผัสกับผิวหนังจะปรากฏเป็นผื่นแพ้และคัน หากสูดดมเข้าไปในระยะสั้นจะสร้างความระคายเคืองในลำคอและไอ ในระยะยาวทำให้เป็นมะเร็งในระบบทางเดินหายใจ


* สีในยาทาเล็บส่วนใหญ่เป็นสีสังเคราะห์ ส่วนยาทาเล็บที่ผลิตด้วยสีธรรมชาติก็จำเป็นต้องเติมแร่ไมกาเพื่อเพิ่มประกายแวววาว สิ่งที่คุณอาจไม่รู้ก็คือ การทำเหมืองไมกามีการใช้แรงงานเด็กและผู้หญิง


* นอกจากยาทาเล็บแล้ว น้ำยาล้างเล็บก็อันตรายไม่เบา ยิ่งทาเล็บติดทนนานเพียงใด ยิ่งต้องใช้น้ำยาที่ผสมด้วยตัวทำละลายเข้มข้นสูง จึงมีฤทธิ์มากพอจะล้างสีออกจากเล็บได้ง่ายดาย


* น้ำยาล้างเล็บส่วนใหญ่มีส่วนผสมสารเคมี 2 ชนิด คือ อะซิโตน และเอทิลอะซิเตต ซึ่งต่างก็สร้างความระคายเคืองแก่ดวงตาและระบบทางเดินหายใจ ไม่เพียงเท่านั้นยังทำให้ผิวหนังแห้งและลดทอนความแข็งแรงของเล็บอีกด้วย




ถึงจะน่ากลัว แต่ก็ยังอยากสวยอยู่ดี ใช่ไหมจ๊ะ?



น้ำยาล้างเล็บ






   ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำยาล้างเล็บคือ อะซีโตน หรือ Acetone โดย อะซีโตนเป็นตัวทำละลายอินทรีย์ ที่ไม่มีสี มีความเป็นพิษต่ำ ระเหยง่าย จึงมักถูกนำมาใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมและใช้ในงานด้านเภสัชกรรม  โดยอะซีโตนที่มีความเข้มข้นมากกว่า 80%  มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อ (antiseptic) นอกจากนี้ อะซีโตนยังถูกสร้างขึ้นจากขนวนการเมตาโบลิซึมในร่างกาย โดยเป็นหนึ่งใน  Ketone bodies  ซึ่งพบในเลือด  เมื่อผู้ป่วยเกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากสารคีโตน (ketoacidosis)  จากภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวาน (diabetic acidosis) หรือภาวะเลือดเป็นกรดจากการอดอาหาร (starvation acidosis) ซึ่งถ้ามีอะซีโตนในเลือดในปริมาณมาก จะสามารถได้กลิ่นอะซีโตนจากลมหายใจของ ผู้ป่วย 


            แต่เนื่องจากในปัจจุบัน ได้มีการกวดขันเรื่องการใช้ยาเสพติดที่เป็นสารระเหย เช่น  กาว  ทินเนอร์ แลคเกอร์ มากขึ้น ทำให้วัยรุ่นที่ติดสารระเหยหันมาใช้ยาทาเล็บ และน้ำยาล้างเล็บ ซึ่งมีอะซีโตนเป็นองค์ประกอบหลัก หยดใส่สำลีหรือทามือแล้วสูดดมแทน เนื่องจากยาทาเล็บและน้ำยาล้างเล็บหาซื้อได้ง่ายกว่า และมีความเสี่ยงต่อการถูกจับกุม   และดำเนินคดียากกว่าการดมกาว หรือ ทินเนอร์  นอกจากนี้การสูดดมอะซีโตนในความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทและ เกิดการเสพติดได้แช่นเดียวกับสารระเหยทั่วไป 




ชื่อสารเคมี : อะซีโตน  Acetone 


ชื่อพ้อง :  2-Propanone, beta-Ketopropane, Dimethyl ketone, Methyl Ketone, Aceton, Chevron acetone, Dimethylformaldehyde, Dimethylketal,  Ketone, dimethyl  ketone propane, Pyroacetic acid และ Pyroacetic ether


สูตรโครงสร้างทางเคมี   


                                                   C3H6O
                                                   MW 58.08
                                               Log P = 0.2




กลไกการออกฤทธิ์


            อะซีโตนเป็นตัวทำละลายอินทรีย์มีความเป็นขั้วสูงและมีพิษต่ำ สามารถล้างสีทาเล็บ Route of Exposure และการเกิดพิษ


            อะซีโตนสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางผิวหนัง  การสูดดมและการกิน โดยอะซีโตนสามารถแพร่กระจายสู่ส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว  อะซีโตนจะถูกทำลายที่ตับและถูกกำจัดออกทางลมหายใจและปัสสาวะ โดยไม่มีการสะสมของสารในร่างกาย โดยปริมาณอะซีโตนในเลือดที่ทำให้พิษคือ 200 - 300 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรของเลือด  และถ้าได้รับอะซีโตนในปริมาณ 550 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรของเลือดจะทำให้เสียชีวิต


            เมื่อรับประทาน อะซีโตนจะทำให้เกิดการระคายเคืองเฉพาะที่ของเยื่อบุทางเดินอาหาร  ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้   อาเจียน  นอกจากนี้ อะซีโตนยังถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหาร  และเยื่อบุทางเดินอาหาร  เข้าสู่กระแสเลือด  และทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทตามมา  การรับประทานอะซีโตนในปริมาณที่มากกว่า  50  มิลลิลิตร  (39.6 กรัม).  จะทำให้เกิดพิษของอะซีโตนอย่างเฉียบพลัน (Acute toxic effects)  ซึ่งทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท คล้ายกับการรับประทานเหล้า/เอธานอล ได้แก่ เดินโซเซ (ataxia)  ง่วงซึม (sedation) หมดสติ โคม่า และระบบทางเดินหายใจถูกกด (respiratory depression)   แต่อาการทางระบบประสาทที่เกิดจากการรับประทานอะซีโตน   จะเกิดขึ้นรวดเร็วกว่า การรับประทานเหล้า  นอกจากอาการดังกล่าวยังมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาเจียนและ hematemesis  ภาวะระดับน้ำตาล   และคีโตนในเลือดสูง   ภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis)   และตับ และไตถูกทำลาย (hepatic and renal damage)  แต่ถ้าคนที่มีน้ำหนัก 67.5 กิโลกรัม  จะเสียชีวิตถ้าได้รับอะซีโตนในปริมาณที่มากกว่า 100  มิลลิลิตร (79.1 กรัม)   การรับประทานอะซีโตนไม่ทำให้เกิดพิษของอะซีโตนอย่างเรื้อรัง (Chronic toxic effects)





การปฐมพยาบาลเบื้องต้น


            ควรให้กินน้ำหรือนมมากๆ


            เมื่อสัมผัสอะซีโตน ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้  และไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง แต่ถ้าเป็นการสัมผัสกับอะซีโตนต่อเนื่องเป็นเวลานาน   จะทำให้ผิวแห้ง  และเกิดการอักเสบของผิวตามมาเนื่องจาก  อะซีโตน  เป็นสารที่สามารถละลายไขมัน (defatting agent)   ถ้าอะซีโตนเข้าตาจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา
            การสูดดมอะซีโตน  จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา    เยื่อบุจมูก   และเยื่อบุทางเดินหายใจ   และทำให้เกิดการกดของระบบประสาท เช่นเดียวกับสารระเหย โดยการกดประสาทของอะซีโตนมีหลายระดับ ตั้งแต่การเปลี่ยนพฤติกรรมจนถึงการเสพติด ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณอะซีโตนที่ได้รับโดยถ้าได้รับในปริมาณไม่เกิน  237 ส่วนต่อล้านส่วน (574 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) เป็นเวลา 4 ชั่วโมง  จะให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น ตื่นเต้น หงุดหงิด และ hostility  ถ้าได้รับในปริมาณมากถึง 250 ส่วนต่อล้านส่วน (605 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) เป็นเวลา 5.25 ชั่วโมง  ระบบประสาทจะถูกกดมากขึ้นและทำให้เกิดอาการหมดแรงอ่อนเพลียและปวดศีรษะ  ถ้าได้รับในปริมาณตั้งแต่ ส่วนต่อล้านส่วน (1210 มิลลิกรัมต่อลูกบากศก์เมตร) ขึ้นไป เป็นเวลา  6 ชั่วโมง จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ  และถ้าได้รับอะซีโตน ในปริมาณที่สูงมากหรือมากกว่า > 29 กรัมต่อลูกบากศก์เมตรจะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ มึนงง สับสน และหมดสติ


            ถึงอย่างไรก็ตาม   อะซีโตนไม่ใช่สารก่อเกิดมะเร็ง  และไม่เหนี่ยวนำให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ (teratogenic activity)
อาการแสดงและการวินิจฉัย
            อาการแสดงของการเกิดพิษ    ขึ้นกับลักษณะการได้รับอะซีโตนเข้าสู่ร่างกาย    ปริมาณของอะซีโตนที่ได้รับ และระยะเวลาที่ได้รับ


การเก็บรักษา


เก็บให้พ้นมือเด็ก และไม่ควรเก็บใกล้ไฟ


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:


http://anamai.in.th
http://www.pharm.su.ac.th


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น